• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางขุชชุตตราว่าเป็นอุบาสิกาผู้เลิศทางพหูสูต ส่วนพระนาง สามาว

Started by skyzy.z88, August 28, 2023, 03:39:16 PM

Previous topic - Next topic

skyzy.z88

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางขุชชุตตราว่าเป็นอุบาสิกาผู้เลิศทางพหูสูต ส่วนพระนาง สามาวดีเป็นอุบาสิกผู้เลิศทางมีปกติอยู่ด้วยเมตตา
ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่ง
ความตาย ผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนที่ประมาทก็เป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว
เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ อริยานํ โคจเร รตา.
บัณฑิตรู้ความแตกต่างกันของอัปปมาทะกับปมาทะแล้ว จึงบันเทิงใจอยู่
ในอัปปมาทธรรม (ความมีสติอยู่เสมอ) ยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ประพฤติแล้ว (เช่น สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น) 
เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺตํ ธีรา นิพฺพาน โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
บัณฑิตผู้บำเพ็ญอัปปมาทธรรมเหล่านั้น มีความเพ่งพินิจ (= สมถะและวิปัสสนา) มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมสัมผัสพระนิพพาน (ด้วยมรรคจิตผลจิต) อันเป็นสภาวะยอดเยี่ยมกว่าธรรมใดๆ เกษมจาก กิเลสเครื่องผูกรัด
พระนางสามาวดีอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ทรงสดับธรรมจากนางขุชชุตตราแล้ว บรรลุโสดาปัตติผล
เศรษฐีชาวภัททวดีเป็นสหายกับโฆสกเศรษฐีชาวโกสัมพี โดยที่ไม่ได้เคยพบกัน (รู้จักผ่าน พวกพ่อค้า) ต่อมา ภัททวดีนครเกิดอหิวาตกโรค เศรษฐีพาภรรยาและธิดาชื่อสามา หนีมายังกรุง โกสัมพี พักอยู่นอกพระนคร เศรษฐีกล่าวยกย่องภริยาว่า นางผู้เจริญ ฉันพาเธอมาประสบทุกข์ เช่นนี้ แม้แต่แม่ที่คลอดฉันมา ท่านก็คงไม่ยินดี รุ่งขึ้นก็ให้ธิดาเดินเข้าไปในกรุงเพื่อรับอาหารใน โรงทานของโฆสกเศรษฐีมาให้พ่อกับแม่นางไปที่โรงทานพบกับกุฎุมพีชื่อมิตตะ (ทำหน้ำที่แจกทาน แทนเศรษฐี) ขออาหารสำหรับคน ๓ คน...ได้อาหารมาแล้วทั้งภรรยาและธิดาแบ่งให้เศรษฐีกิน มากไป อาหารจึงไม่ย่อย ภัททวติยเศรษฐีจึงเสียชีวิตในคืนนั้น วันรุ่งขึ้น นางจึงไปขออาหารสำหรับ คน ๒ คน, คืนนั้น มารดาเกิดอาหารไม่ย่อย เสียชีวิตไปอีกคน, วันรุ่งขึ้นเธอจึงเดินร้องไห้ไปขอ อาหารสำหรับเธอเอง, นายมิตตะจำได้ คิดว่า "วันก่อนเธอรับไปสำหรับ ๓ คน และ ๒ คน วันนี้ สำหรับคนเดียว วันก่อนๆ เธอคงโลภมา" จึงด่าว่า "หญิงถ่อยจงฉิบหาย วันนี้เธอรู้ประมาณท้อง แล้วล่ะสิ" เธอฟังแล้วเป็นเหมือนหอกทิ่มเข้าที่อก ถามว่า "นายท่าน ทำไมพูดอย่างนี้" นายมิตตะ ก็เล่าย้อนถึงการรับอาหารของเธอ, นางสามา จึงชี้แจงเรื่องทั้งหมดให้ทราบ นายมิตตะฟังแล้ว เศร้าใจร้องไห้พลางบอกว่า เธอจะเป็นลูกสาวคนโตของเรา แล้วจุมพิตที่ศีรษะ นำไปยังเรือน และ ตั้งไว้ในฐานะลูกสาวคนโต
วันหนึ่ง นางสามาได้ยินเสียงอื้ออึงในโรงทาน จึงเสนอให้บิดาทำรั้วล้อมโรงทาน ทำให้ เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีเสียงอื้ออึงของมนุษย์อีก ตั้งแต่นั้นมา นางสามาจึงได้ชื่อว่า "สามาวดี", โฆสกเศรษฐีไม่ได้ยินเสียงอื้ออึงจากโรงทานอีก จึงถามนายมิตตะถึงวิธีที่ทำให้พวก ยาจกไม่ส่งเสียง นายมิตตะก็แจ้งให้ทราบว่าเป็นผลงานของลูกสาวคนโต แล้วเล่าความเป็นมาของ นางสามาวดี เศรษฐีฟังแล้วทราบว่านางสามาวดีเป็นบุตรสาวคนเดียวของเศรษฐีภัทกวติยะผู้เป็น สหาย จึงรับเป็นบิดาของนางสามาวดีอีกคน จัดหญิง ๕๐๐ คนให้คอยรับใช้และตั้งนางไว้ในฐานะ ลูกสาวคนโต ต่อมา พระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพีทอดพระเนตรเห็นนางแล้ว ได้สู่ขอมาอภิเษก สมรสให้เป็นพระอัครมเหสี
ต่อมา นางขุชชุตตราผู้เป็นหญิงรับใช้ออกจากวังไปซื้อดอกไม้ที่ร้านนายสุมนะได้รับการ ชักชวนให้ไปร่วมฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า นางฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผล กลับถึงวังแล้วได้ เล่าการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ...และได้แสดงธรรมแก่พระนางสามาวดีและบริวาร ๕๐๐ คน จบแล้วทุกคนล้วนบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน แต่นั้นมา พระนางก็มักจะคอยแอบดู พระพุทธเจ้ายามเสด็จเข้ามาในกรุงโกสัมพี
นางมาคันทิยาผูกใจเจ็บพระพุทธเจ้า เมื่อได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทนแล้ว จึงปฏิบัติการล้างแค้น 
อีกด้านหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อนพระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปประกาศพระศาสนาที่แคว้นกุรุ ครั้งนั้น มาคันทิยพราหมณ์เห็นพระพุทธเจ้าแล้วต้องการจะยกลูกสาวคือนางมาคันทิยาให้ จึงขอร้อง ให้รออยู่ตรงนั้น ก่อนจะนำตัวลูกสาวมา, เขากลับถึงเรือนแล้วสั่งให้ภรรยา (ชื่อมาคันทิยาเหมือนกัน) แต่งตัวให้ลูกสาว แล้วรีบพากันไปถึงแล้วพบรอยพระบาท ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้า
มาคันทิยพราหมณีเห็นรอยเท้าแล้วกล่าวเตือนสามีว่า "รอยเท้านี้บ่งบอกว่า เจ้าของ รอยเท้าไม่ใช่คนผู้เกี่ยวข้องกับกามคุณ แต่เป็นรอยเท้าของคนที่ไม่มีกิเลสแล้ว" สามีกล่าวค้านว่า "เฉยๆ เถิด ความรู้ที่เธอมีก็เป็นเหมือนจระเข้อยู่ในโอ่งน้ำ (วนอยู่ในที่แคบๆ) เหมือนโจรหลบอยู่ ในเรือน (หลบๆ ซ่อนๆ)" แล้วมองไปรอบๆ ก็พบพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปกล่าวยกลูกสาวให้
พระพุทธเจ้าทรงไม่ตรัสปฏิเสธตรง ๆ แต่ตรัสเล่าถึงสมัยตรัสรู้ใหม่ๆ เคยถูกพวกเทพธิดา บุตรสาวของมาร มาแสดงตัวยั่วยวนให้เสพกาม ทรงขับไล่พวกนางไป, แล้วตรัสแก่มาคันทิยพราหมณ์ ว่า "เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุน แม้จะได้เห็นเทพธิดา ไฉนเราจะพอใจในสรีระธิดาของท่านที่ เต็มไปด้วยมูตรและคูถ เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระแห่งธิดาของท่านนี้แม้ด้วยเท้า"
จบพระพุทธดำรัส มาคันทิยพราหมณ์และภรรยาบรรลุอนาคามิผล (เป็นพระอนาคามี) ส่วนมาคันทิยาผู้เป็นบุตรสาวฟังแล้วเกิดความโกรธแค้น ผูกใจเจ็บว่า "ถ้าไม่ต้องการเราเป็นเมีย ก็ควรบอกตรงๆ ว่าไม่รับ ทำไมต้องพูดด้วยว่าตัวเราเต็มไปด้วยมูตรคูถ เอาเถอะสมณะ ตัวเราก็ยัง อยู่ในวัยสาว มีความสวย เราจะหาสามีที่ถึงพร้อมด้วยชาติ สกุล โภคะ และความเป็นใหญ่ เมื่อนั้น แหละ เราจะทำสิ่งที่ควรทำกับสมณโคดม" มารดาและบิดานำนางมาคันทิยาไปให้น้องชายดูแล ในฐานะธิดาแล้วทั้งสองก็ออกบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี ไม่นานทั้งสองก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
ต่อมา นายจูฬมาคันทิยะผู้เป็นบิดาบุญธรรมนำนางมาคันทิยาไปถวายตัวแก่พระเจ้าอุเทน, พระราชาทรงเสน่หานางมาคันทิยามาก ทรงอภิเษกไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี แล้วมอบหญิง ๕๐๐ คนให้เป็นบริวาร
เมื่อพระนางมาคันทิยาทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับในกรุงโกสัมพี จึงเริ่มแผน การล้างแค้นต่างๆ เช่น ว่าจ้างให้คนจำนวนมากติดตามด่าบริภาษหมายให้เสด็จออกจากเมืองไป แต่พระพุทธเจ้าทรงอดกลั้นต่อคำด่าเหล่านั้น ไม่เสด็จไปยังที่อื่น วันที่ ๘ พวกเขาก็เลิกด่า (เลิก ว่าจ้าง,)
ทูลยุยงให้พระราชาเข้าพระทัยผิด จะได้ฆ่าพระนางสามาวดี และเกลียดพระพุทธเจ้า แต่ล้มเหลว เป็นเหตุให้พระราชาทรงนับถือพระพุทธเจ้า 
และแผนร้ายที่สุดก็คือ เมื่อรู้ว่าพระนางสามาวดีและบริวารมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า นาง จึงใส่ความพระนางสามาวดีต่างๆ หมายให้พระราชาประหารชีวิตพระนางและบริวาร เช่น ขอให้ พระราชาสั่งให้พระนางสามาวดีแกงไก่ถวายพระราชาโดยนำไก่เป็นไปให้, พระนางสามาวดีจึง ไม่ยอมแกงให้ แล้วขอให้พระราชาสั่งให้แกงไก่ ถวายพระพุทธเจ้าโดยนำไก่ตายไปให้ เมื่อพระนาง แกงเสร็จแล้วก็ใส่ร้ายว่าพระนางสามาวดีนอกใจพระราชา, ต่อมา ก็ได้แอบนำงูไปไว้ในพิณของ พระราชาซึ่งอยู่ภายในห้องของพระนางสามาวดี แล้วทำทีทูลว่าฝันเห็นจะมีคนลอบปลงพระชนม์ พระราชา เมื่อพระราชาเสด็จเข้าไปในห้องพระนางสามาวดีแล้ว นางก็ขอเข้าไปเฝ้าพระราชาใน ห้องนั้นแล้วแอบเปิดพิณให้งูเลื้อยออกมา
พระราชาทรงหลงเชื่อว่าพระนางสามาวดีและบริวารจะลอบปลงพระชนม์จริง ตรัสให้พวก พระนางยืนต่อแถว ทรงโก่งธนูจะยิงให้ทะลุคนทั้งหมด พระนางสามาวดีตรัสเตือนบริวารว่า "พวกเราไม่มีที่พึ่งแล้ว จงมีเมตตาจิตแก่พระราชา อย่าให้ความโกรธเกิดขึ้นเลย" พระราชาทรงยิงลูกศรออกไป ลูกศรพุ่งตรงไปยังพระอุระของพระนางแล้วเลี้ยวกลับพุ่งตรงมาหยุดก่อนถึงพระอุระของ พระราชาและร่วงลงด้วยอานุภาพของเมตตา พระราชาทรงตกพระทัยดำริว่า "ลูกศรไม่มีชีวิต จิตใจ แต่มันยังรู้คุณของพระนางสามาวดี" ทรงทิ้งธนูลงแล้วทรงนั่งกระหย่งไหว้พระบาทของ พระนางสามาวดีพร้อมตรัสว่า "เจ้าจงเป็นที่พึ่ง จงเป็นที่ต้านทานภัยแก่เราด้วยเถิด เราหลงผิดไปแล้ว เรามองไม่เห็นทิศใดๆ จะเป็นที่พึ่งได้เลย" พระนางตรัสว่า "ท่านมหาราช หม่อมฉันถึงท่าน ผู้ใดเป็นที่พึ่ง ก็ขอให้พระองค์ถึงท่านผู้นั้นเป็นสรณะเถิด และขอท่านมหาราช ทรงเป็นที่พึ่งของ หม่อมฉันต่อไปเถิด"
พระเจ้าอุเทนตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้น เราขอถึงเจ้าและพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ทั้งเราจะให้พร แก่เจ้า" พระนางทูลว่า หม่อมฉันขอรับพร (คือพระราชาเปิดโอกาสให้ขอสิ่งต่างๆ ได้)
วันนั้นแหละ พระราชาเสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทรงถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แล้ว ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้เข้าไปเสวยในพระราชวังตลอด ๗ วัน, ในวันที่ ๗ พระราชา ตรัสให้พระนางขอพรได้ พระนางสามาวดีทูลขอให้พระราชานิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์เข้า มารับทานและแสดงธรรมทุกๆ วัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "การไปในสถานที่เพียงแห่งเดียว พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรง ประพฤติ เพราะชนทั้งหลายต่างหวังจะได้พบเห็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น" พระนางจึงนิมนต์ภิกษุสงฆ์ ให้เข้าไปรับทานและแสดงธรรมในพระราชนิเวศน์ทุกวัน
เมื่อทำอะไรพระพุทธเจ้าไม่ได้ ก็สั่งให้เผาปราสาทฆ่าพระนางสามาวดี และสตรีบริวาร ๕๐๐ คน ส่วนตนเองก็ถูกประหาร 
การที่พระนางสามาวดีไม่ได้รับโทษ ทั้งยังเป็นที่รักของพระราชามากยิ่งขึ้น การที่พระราชา ทรงถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ และการที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาในพระราชวัง ยิ่งทำให้พระนาง มาคันทิยาทรงคลั่งแค้นอย่างหนัก ในที่สุดก็ตัดสินใจให้อา คือ นายจูฬมาคันทิยะแอบไปวางเพลิง เผาปราสาทที่ประทับของพระนางสามาวดี ทำให้พระนางและสตรีบริวารทั้ง ๕๐๐ คนตาย โดย ก่อนที่ไฟจะลามมาถึงนั้น พระนางได้ให้โอวาทแก่บริวารว่า "การถูกไฟเผาอัตภาพของพวกเราที่ เที่ยวไปในสงสาร กำหนดนับอัตภาพได้ยาก แม้จะใช้พระพุทธญาณกำหนด ก็ทำไม่ได้ง่าย พวกเรา จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด" ก่อนตายสตรีเหล่านั้นได้กำหนดพิจารณาทุกขเวทนา บางคนบรรลุ สกทาคามิผล บางคนบรรลุอนาคามิผล
พระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานว่า "โลกมีความไม่รู้ผูกไว้ทำให้ เห็นว่าสมควร, คนพาลมีอุปธิ (กิเลสต่างๆ พัวพัน) เป็นเครื่องผูกไว้ มีความมืด (อวิชชา, ไม่มีวิชชา) แวดล้อมแล้ว จึง (เห็นชีวิต) เป็นราวกะของยั่งยืน ส่วนท่านผู้เห็น (แจ้ง) อยู่ ย่อมไม่มีกิเลสเครื่อง กังวล"
พระราชาทรงทราบว่าไฟไหม้ปราสาท และพระนางสามาวดีสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงพระโทมนัสมาก รีบเสด็จไปยังซากปราสาท ทอดพระเนตรแล้วใคร่ครวญว่า "ปราสาทเกิดไฟไหม้ได้ อย่างไรหนอ?" ทรงสงสัยว่าอาจเป็นการกระทำของพระนางมาคันทิยา จึงทรงออกอุบายสอบสวนเอง โดยตรัสให้พระนางมาคันทิยามาเข้าเฝ้าในระหว่างทรงว่าราชการ แล้วตรัสปรารภกับพวก อำมาตย์ว่า "พระนางสามาวดีตายแล้ว ตัวเรานั้นมีความสุขมากขึ้น ตอนนางมีชีวิตอยู่ นางก็มักหาเรื่องเดือดร้อนให้เรา เราต้องคอยระแวงว่าจะถูกพวกนางลอบปลงพระชนม์ นั่งนอนไม่เคยมี ความสุขเลย ใครหนอ! ช่วยทำให้เราได้มีความสุข ไม่ต้องคอยระวังตัวอีก"
พระนางมาคันทิยาสดับแล้วตกหลุมพรางนั้น ตื่นเต้นเข้าใจไปว่าพระราชาพูดจริง รีบทูลว่า "ใครจะทำกรรมนั้นเพื่อพระองค์ได้ ถ้าไม่ใช่หม่อมฉันๆ สั่งให้อาจูฬมาคันทิยะวางเพลิงฆ่าพวกนาง เองเพคะ" พระราชาตรัสว่า "คนที่รักเราจริงก็มีแต่ตัวเธอนี่แหละ เราพอใจมาก...เราจะพระราชทาน พรแก่เธอและหมู่ญาติของเธอ จงไปบอกให้พวกเขาเข้าเฝ้านะ" พระนางมาคันทิยาทรงหลงเชื่อ รีบส่งข่าวถึงหมู่ญาติ แม้แต่คนที่ไม่ใช่ญาติรู้ข่าวแล้วก็ยังติดสินบนขอเป็นญาติด้วย แล้วพากันมา ฝ่ายพระราชาตรัสสั่งให้ขุดหลุมไว้ลึกประมาณถึงสะดือที่พระลานหลวง เมื่อหมู่ญาติมาก็ให้จับยืน ในหลุม กลบด้วยดิน สุมด้วยฟางแล้วจุดไฟเผา เมื่อไฟมอดลงก็ให้ไถด้วยไถเหล็ก ส่วนพระนาง มาคันทิยานั้น พระราชาทรงให้เฉือนเนื้อเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วใส่กระทะทอดด้วยน้ำมัน และยัง ให้คนเคี้ยวกินเนื้อนั้นด้วย
อกุศลกรรมที่เป็นเหตุให้พระนางสามาวดีและหญิงบริวารถูกไฟคลอกตาย 
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายคุยกันเรื่องความตายของอุบาสิกาทั้งหลายว่า "อุบาสิกาที่มีศรัทธาดี อย่างนั้นไม่สมควรมาถูกไฟคลอกตายเลย"
พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าอกุศลกรรมครั้งที่พระนางสามาวดีและหญิงบริวารเคยเป็นนางกำนัล ของพระราชาพาราณสี วันหนึ่ง ไปเล่นน้ำแล้วขึ้นมาจุดกองหญ้าเพื่อผิงไฟ ไม่รู้ว่าพระปัจเจก พุทธเจ้านั่งเข้าสมาบัติอยู่ในนั้น ไฟมอดแล้วจึงเห็น พวกนางเข้าใจว่าท่านตายแล้วก็เกรงกลัวโทษ จากพระราชา จึงช่วยกันหาไม้มาสุมจะเผาร่างท่านให้ไหม้ไม่ทิ้งหลักฐาน ครั้นไฟติดแล้วก็พากัน กลับไป พวกนางไม่รู้ว่าพระสมณะเข้านิโรธสมาบัติอยู่ อานุภาพสมาบัติไม่มีสิ่งใดกระทำอันตราย ต่อชีวิตและบริขารของท่านได้ ครบ ๗ วันแล้วท่านก็ออกจากสมาบัติลุกเดินไป
ครั้งแรกที่จุดไฟ พวกนางไม่มีอกุศลเจตนา, ครั้งที่ ๒ พวกนางมีอกุศลเจตนา, อกุศลกรรมนี้ จึงเป็นเหตุให้ถูกไฟเผาเรือนและตายในกองเพลิง ๑๐๐ อัตภาพ
อีกวันต่อมา ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "ระหว่างพระนางสามาวดีกับพระนางมาคันทิยา ใครหนอชื่อว่า มีชีวิตอยู่ ใครหนอชื่อว่า ตายแล้ว ?" พระพุทธเจ้าทรง ทราบแล้วตรัสว่า "คนที่มีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ถ้าประมาทก็ชื่อว่า ตายแล้ว, ส่วนคนที่ไม่ประมาท แม้ตายไปแล้วก็ชื่อว่า ยังมีชีวิตอยู่..." แล้วตรัสภาษิตเหล่านี้
อธิบายพุทธภาษิต 
ความไม่ประมาท ได้แก่ การประพฤติในกุศลธรรมต่างๆ และการ มีสติสม่ำเสมอ, เป็นทางแห่งอมตะ (ความไม่ตาย) คือ ความไม่ประมาทเป็นอุบายให้ถึงพระนิพพาน (ธรรมที่ไม่มีความเกิด แก่ ตาย), ความประมาท ได้แก่ การไม่มีสติ ผู้ไม่มีสติย่อมประมาท เป็นทาง สู่มัจจุ (ความตาย) บ่อยๆ เพราะไม่อาจพ้นชาติ ชรา มรณะ ได้ ผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย หมายถึง สังสาระของผู้ไม่ประมาทย่อมกำหนดนับได้ (คือ นับชาติได้ เช่น พระโสดาบันเกิดอีก ไม่เกิน ๗ ชาติ) เมื่อไม่ประมาท ทำให้แจ้งมรรคผลได้ ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว ก็ชื่อว่า ไม่ตาย , คนที่ประมาท หมายถึง ผู้ไม่ปรารภถึงกุศลกรรมต่างๆ ไม่ประพฤติกุศลกรรมต่างๆ แม้ยัง มีชีวิตอยู่แต่ก็เหมือนคนที่ตายไปแล้ว
บัณฑิต หมายถึง ผู้มีปัญญา รู้ความแตกต่างกันแล้วย่อมบันเทิง (ปโมทนฺติ) คือ มีความ ชื่นบาน ยินดีที่ตนเองไม่เป็นผู้ประมาท ด้วยการประพฤติอยู่ในธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และโลกุตตรธรรม ๙ ตามอย่างพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ด้วยความไม่ประมาทแล, มีความเพ่งพินิจ (ฌายิโน) หมายถึง ฌาน ๒ คือ ๑ อารัมมณูปนิชฌาน ได้แก่ เพ่งอารณ์แห่งสมาบัติ ๘ และ ๒.ลักขณูปนิชฌาน ได้แก่ เพ่งลักษณะแห่งสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนา และเพ่งพระนิพพานด้วยมรรค (จิต) และผล (จิต)
ย่อมสัมผัส (ผุสนฺติ) พระนิพพาน ด้วยญาณผุสนา (สัมผัสด้วยญาณ) คือ มรรคจิต ๔ และด้วยวิปากผุสนา (สัมผัสด้วยวิบาก) คือ ผลจิต ๔ ในที่นี้ทรงหมายถึง การสัมผัสด้วยวิบาก คือ อริยผล (ผลจิต ๔ ผลของการพ้นจากกิเลส เกิดขึ้นหลังมรรคจิตทำกิจในการตัดขาดกิเลสคือโยคะ)
โยคะ เป็นชื่อเรียกกิเลส ๔ (กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ) ที่ประกอบหรือผูกรัด สัตว์ทั้งหลายไว้ในวัฏฏสงสาร
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางขุชชุตตราว่าเป็นอุบาสิกาผู้เลิศทางพหูสูต ส่วนพระนาง สามาวดีเป็นอุบาสิกผู้เลิศทางมีปกติอยู่ด้วยเมตตา (องฺ.เอก.ข้อ ๑๕๒)
คติธรรมความรู้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ทำให้แจ้งมรรค ผล นิพพาน แล้ว ยังมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือตายแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพวกท่านว่า ผู้ไม่ตาย เพราะสิ้นกิเลสอันเป็นต้นเหตุแห่งชาติชรามรณะแล้ว
บรรลุนิพพาน บรรลุธรรม ดวงตาเห็นธรรม ประจักษ์แจ้งพระนิพพาน มรรคผลนิพพานมีจริงอนุปุพพิกถา ๕ และ อริยสัจ ๔ การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์๖ ขั้นตอนสู่การบรรลุนิพพาน-guideline[url=https://www.nirvanattain.com/%E0%B8%AA%E0%