• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

IPOInsight: AAI อัพเวล !! สู่ยอดขายหมื่นล้าน ก้าวขึ้น Global Brand

Started by Naprapats, November 01, 2022, 04:27:55 PM

Previous topic - Next topic

Naprapats


กลุ่มคนรักน้องหมาน้องแมวที่กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลกจากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ บมจ.เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (AAI) เป็นอีกหนึ่งหุ้นน้องใหม่ที่ได้รับกระแสตอบรับดี หลังจากกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ 5.55 บาทต่อหุ้น โดยมีนักลงทุนสถาบันในประเทศแสดงความสนใจจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้เกือบ 10 เท่า สะท้อนถึงความมั่นใจในศักยภาพธุรกิจที่จะเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง

AAI ประกาศเป้าผลักดันยอดขายโตเท่าตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า จากปี 64 ที่มียอดขายราว 5 พันล้านบาท พร้อมเพิ่มสัดส่วนยอดขายแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงของตัวเองเพื่อขยับเพิ่มอัตรากำไรภายใต้กลยุทธ์ "Level up AAI" พร้อมยกสถานะคู่ค้าขึ้นเป็น strategic partners

*เป้ารายได้หมื่นล้านภายใน 5 ปี ก้าวขึ้นสู่ Global Brand อาหารสัตว์เลี้ยง

นางสาววรัญรัชต์ อัสสานุพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงิน AAI ให้สัมภาษณ์กับ "อินโฟเควสท์" ว่า บริษัทวางแผนธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้ามีเป้าหมายยอดขายแตะ 1 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเท่าตัวจาก ปี 64 ที่มียอดขายราว 5 พันล้านบาท โดยจะมาจากการเติบโตการรับจ้างการผลิต (OEM) อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Food) ซึ่งบริษัทรับจ้างผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงให้กับผู้ผลิตแบรนด์ชั้นนำของโลก 40-50 แบรนด์ ซึ่งสัดส่วนรายได้ใส่วนใหญ่มาจากลูกค้า TOP5 ในตลาดซึ่งทำรายได้ 60% ของยอดขาย

ตลาดส่งออกของบริษัทที่ได้รับจ้างผลิตแบบ OEM กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมีตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐ ส่งออก 55% มีลูกค้ารายใหญ่ 2 ราย, ในยุโรป 20% มีลูกค้ารายใหญ่ 2 ราย และยังมีรายอื่นมีโอกาสพัฒนาเป็นลูกค้ารายใหญ่ และตลาดญี่ปุ่นกว่า 10% ลูกค้ารายใหญ่ 1 ราย โดยตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น ถือเป็นตลาดใหญ่ของโลก

ขณะที่บริษัทได้พัฒนาแบรนด์สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงของตัวเองที่เข้าไปแข่งขันในตลาดทุกระดับ โดยมีแผนเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 10% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2% ประกอบด้วย มองชู (monchou) และ มาเรีย (Maria) เจาะกลุ่มลูกค้าตลาดสินค้าพรีเมียม ขณะที่ แบรนด์ มองชู บาลานซ์ (monchou balanced) และ ฮาจิโกะ (Hajiko) เจาะกลุ่มลูกค้าตลาด mass ส่วนแบรนด์ โปร (Pro) เจาะกลุ่มลูกค้าที่เน้นแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก

นางสาววรัญรัชต์ กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าหมายจะผลักดันอัตรากำไรให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเติบโตของยอดขายสินค้าภายในแบรนด์ของตัวเอง ทำให้อัตรากำไรในปี 64 สูงขึ้นมาที่ 21.5% เติบโตอย่างมากจากปี 62 ที่อยู่ในระดับ 9.9% และอัตรากำไรสุทธิเพิ่มเป็น 12.7% จากปี 62 อยู่ที่ 4.6% ซึ่งหลักๆ มาจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง

*ประเมินธุรกิจ Pet Food เติบโตต่อเนื่อง

นางสาววรัญรัชต์ กล่าวอีกว่า ยอดขายของบริษัทในปี 64 มีสัดส่วนจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง 82% (โดย 2% รายได้จากแบรนด์ตัวเอง ) ที่เหลืออีก 18% เป็นผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานบรรจุภาชนะปิดผนึก (Human Food) เช่น ทูน่ากระป๋อง และ ผลิตภัณฑ์อาหารปรุงสุกพร้อมทาน (Ready-to-eat) เช่น ข้าวผัด สปาเก็ตตี้ เป็นต้น

ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีการเติบโตอย่างมากจากยอดขายในปี 62 ที่เกือบ 3,600 ล้านบาท มาเป็นราว 5,000 ล้านบาทในปี 64 และในช่วงครึ่งแรกปี 65 บริษัทมียอดขายแล้ว 3,400 ล้านบาท เติบโตมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 64 ที่มียอดขาย 2,400 ล้านบาท เป็นไปตามเทรนด์ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงที่เติบโตขึ้น

นางสาววรัญรัชต์ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีจากนี้ปีละไม่ต่ำกว่า 5% ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่สูงมากเนื่องจากขนาดตลาดค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก (Wet Pet Food) มีโอกาสเติบโตมากขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบัน คนมีลูกน้อยลง แต่งงานช้าลง ขนาดครอบครัวเล็กลง และมีคู่แต่งงานเพศเดียวกันมากขึ้น ทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ามาช่วยคลายความเหงา ดังนั้น จะเห็นว่าประชากร หมา-แมว เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ่นมาก และไม่ใช่เพียงจำนวนสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น แต่ผู้เลี้ยงใส่ใจกับการกินดีอยู่ดีของสัตว์เลี้ยงมากขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าธุรกิจของ AAI เติบโตมหาศาล

ขณะที่ธุรกิจ Human Food บริษัทปรับเปลี่ยนตลาดหลักไปเป็นประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งสามารถทำมาร์จิ้นได้ดีกว่าตลาดทั่วไป และเน้นตลาดทูน่าปรุงรส เช่น ทูน่ามายองเนส ทูน่าน้ำสลัด ที่ขายให้กับบริษัทผู้ผลิตอาหารโดยตรง ซึ่งมีอัตรากำไรสูงขึ้น

*เจาะลึกกลยุทธ์ "Level up AAI"

เพื่อให้การเติบโตต่อเนื่องตามแผนงาน บริษัทจึงได้วางกลยุทธ์ "Level up AAI" เพื่อยกระดับองค์กรให้พัฒนาและเติบโตให้ทันกับโอกาสทางธุรกิจ และพร้อมปรับตัวภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำพาองค์กรให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายในอนาคต แบ่งเป็น 4 เรื่อง

1. Level up our organization หรือ ยกระดับธุรกิจ มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารงานให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล การเร่งพัฒนาบุคลากร รวมถึงการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเพื่อรองรับการเติบโตและโอกาสทางธุรกิจในอนาคต

2. ยกระดับสถานะจาก "ผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์" เพื่อเป็น "คู่ค้าเชิงกลยุทธ์" (Level up our co-developer position to strategic partners) หากลูกค้าอยากจะเติบโตหรือขยายตลาด เราจะเป็นคนแรกที่ลูกค้ามาหาเรา โดยมองหาโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งในกลุ่มธุรกิจที่เป็นต้นน้ำและปลายน้ำ (Up-stream / Down-stream) เพื่อให้การบริหารจัดการด้านห่วงโซ่อุปทานมีความต่อเนื่องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว

3. ยกระดับแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงของบริษัทฯ เพื่อเป็นแบรนด์ระดับโลก (Level up our own brands) โดยเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงในหลากหลายแบรนด์ เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของกลุ่มลูกค้าในทุกตลาดย่อย (Market Segment) และมีผลิตภัณฑ์ครบทุกประเภท ทั้งที่เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก อาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ด และขนมสำหรับสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ ในปัจจุบันแบรนด์ของบริษัทเป็นแบรนด์ที่ขายในไทยและจีนบางส่วน โดยจะทำให้ Brand มีความเป็น Global Brand มากขึ้น เพื่อขยายตลาดอื่นได้

4. ยกระดับความใส่ใจต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านแผนกลยุทธ์ CHEERS! (Level up cares through CHEERS! strategy) โดยให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยึดมั่นในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนตามหลักสากลขององค์การสหประชาชาติ

*เปิดแผนบริหารจัดการช่วงวิกฤติ-รับอานิสงส์บาทอ่อน

นางสาววรัญรัชต์ กล่าวถึงจุดแข็งของบริษัทว่าบริษัทมีทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มีส่วนสำคัญเติบโตยอดขายและรับความไว้วางใจจากลูกค้าโดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยง การให้ความใส่ใจคุณภาพอาหาร ซึ่งเทียบเคียงกับอาหารเด็ก ถูกต้องตามหลักโภชนาการ นอกจากนี้มีการดำเนินงาน การบริหารกระชับ ฉับไว เห็นได้จากช่วงโควิด AAI เป็นหนึ่งในโรงงานที่ไม่ต้องหยุดการผลิต เพราะฝ่ายบริหารจัดการได้รวดเร็วฉับไว ทำให้การระบาดโควิดไม่เข้ามาติดแพร่กระจายในโรงงาน

ในแง่ผู้ผลิต บริษัทก็สามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทุกวันก็ถือเป็นการบริหารจัดการดี โดยจากประสบการณ์ผู้ผลิตสัตว์เลี้ยงมายาวนาน บริษัทสามารถตอบโจทย์ลูกค้า อาทิ เทรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงรสชาติใหม่ๆ การตรวจสอบย้อนกลับอาหารได้ ซึ่งมีประสบการณ์ธุรกิจทูน่า และประสบการณ์ของ บมจ.เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น (ASIAN)(บ.แม่)ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประมง ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือบริษัท ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญที่จะต่อยอดไปเป็นผู้เล่นในระดับโลกในธุรกิจอาหาร

ทั้งนี้ การบริหารจัดการต้นทุนของบริษัท จะจัดสรรสต๊อกให้เพียงพอ เช่น ทูน่า มีสต็อก 3-4 เดือนเพื่อเพียงพอผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เนื่องจากสิ่งที่พบช่วงโควิด คือ สต็อกน้อยไม่ใช่คำตอบ เพราะไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมือง หรือ ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบในแง่ Supply Disruption ทำให้ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่เราโชคดี มีสถานะการเงินดี และการจัดการรวดเร็ว และการสต็อกสินค้าเพียงพอ ประกอบกับการบริหารต้นทุนและราคาที่ดี ทำให้บริษัทผ่านช่วงวิกฤติมาได้

ส่วนประเด็นค่าเงินบาทอ่อนค่า บริษัทได้รับผลดีเพราะธุรกิจส่งออก ซึ่งมีสัดส่วน 94% ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้บริษัทได้ประโยชน์ เห็นชัดเจนในเรื่องของดีมานด์ ปีนี้มีต้นทุนวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นหลายส่วน ซึ่งบริษัทมองว่าหลังโควิดคลี่คลายจะเริ่มมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ก็จะมีการแย่งวัตถุดิบ ทำให้ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนเพิ่มขึ้นด้วย พอมีความไม่สงบราคาก็มีความผัผวน กดดันอัตรากำไร และราคาขายที่ขยับสูงขึ้น

"ในความโชคดีที่มีปัจจัยบวกเข้ามาคือเรื่องเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ลูกค้าของ AAI ไม่ได้รับรู้ราคาสินค้าที่สูงขึ้นซึ่งมาจากการปรับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นดีมานด์ก็ยังค่อนข้างดีมาก ประกอบกับ อยู่ในภาวะเงินเฟ้อ เป็นโอกาสขึ้นราคาสินค้า ทำให้ลูกค้าสามารถปรับขึ้นราคาได้ และบริหารจัดกาความต้องการสินค้าได้ดีขึ้น ก็เป็นปัจจัยบวกด้วย"
*เดินหน้าเข้า SET ขยายกำลังการผลิตอีก 1 เท่าตัว

สำหรับวัตถุประสงค์การเสนอขายหุ้น IPO ของ AAI ได้แก่ นำไปขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะรองรับกลยุทธ์การยกระดับ Co-Developer ให้กลายเป็น Strategic Partner สิ่งสำคัญเตรียมการเพิ่มกำลังผลิตให้ขยายออกไปให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าเรา กำลังการผลิตเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัจจุบันอัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization Rate) ของ AAI จะขึ้นไปเป็น 90% ในบางช่วง ซึ่งค่อนข้างลำบากกับการบริหารจัดการ การวางแผนการผลิตมากๆ ฉะนั้น ใน 3 ปี บริษัทวางแผนจะมีการขยายกำลังการผลิต 1 เท่าตัว หรืออีก 40,000 ตันต่อปี คาดว่าในปี 2569 จะมีกำลังการผลิต 82,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้จะเพิ่มอาคารออโตเมติกส์แวร์เอ้าส์ 1 หลัง คาดใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทในปี 66 และก่อสร้างอาคารผลิตหลังใหม่ และไลน์การผลิตบางส่วนในพื้นที่เดิมในไทย คาดใช้งบประมาณ 700 ล้านบาทในปี 66 เงินส่วนที่เหลือจะนำไปชำระหนี้เพื่อให้มีภาระดอกเบี้ยลดลง และมีสถานะการเงินแข็งแกร่งขึ้น

ปัจจุบัน AAI มีโรงงานผลิต 2 แห่ง คือ (1) โรงงานสมุทรสาคร เป็นฐานการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก อาหารพร้อมทานบรรจุภาชนะปิดผนึก และผลพลอยได้จากการแปรรูปปลาทูน่า มีกำลังการผลิตรวมในปัจจุบัน 65,500 ตันต่อปี (อาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก: 42,000 ตัน, อาหารพร้อมทานบรรจุภาชนะปิดผนึก: 17,500 ตัน และ ปลาป่น: 6,000 ตัน) และ (2) โรงงาน MEISI ดำเนินการโดย Shandong Thaiya Meisi Pet Food Co., Ltd (MEISI) ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้า ตั้งอยู่ที่มณฑลซานตง ประเทศจีน โดยใช้เป็นฐานการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ด มีกำลังการผลิตรวมในปัจจุบัน จำนวน 20,000 ตันต่อปี

ในส่วนของโรงงานในจีน ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงิน AAI กล่าวว่า บริษัทได้เข้าไปลงทุนในปี 63 เป็นจังหวะที่มีการระบาดโควิด-19 จนถึงปัจจุบันจีนยังคงปิดประเทศอยู่ ซึ่งการเดินทางยังต้องกักตัว 14 วันทำให้เดินทางไปไม่ได้ ทำให้แผนการขยายกำลังการผลิตในจีน หรือการนำสินค้าที่มีแบรนด์ไปว่าจ้างผลิตในจีนจำเป็นต้องเลื่อนออกไป แต่บริษัทก็คาดหวังว่าปีหน้าน่าจะกลับมาสามารถดำเนินการได้ตามแผน

https://youtu.be/WMLmsOTKMM0